ทักษะและเทคนิคการสอน

ทักษะและเทคนิคการสอน

ความหมายของทักษะการสอน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Skill หมายความว่า สามารถ เหมาะ ขยันหมั่นเพียร แข็งแรง กรมวิชาการให้ความหมายว่า ความสามารถ ความชำนาญและคล่องแคล่วว่องไว Carter  V.Good ให้ความหมายว่า สิ่งที่บุคคลได้เรียนรู้ที่จะทำด้วยความง่าย แม่นยำถูกต้อง

พจนานุกรมทั้งในและต่างประเทศให้ความหมายได้คล้ายคลึงกัน

ทักษะ หมายถึง ความสามารถในการกระทำบางสิ่งบางอย่างได้ดีมีประสิทธิภาพ

คำว่าการสอน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Instrution มีความหมายไว้ต่างๆได้แก่

-การสอนเป็นการจัดกระบวนการให้ผู้เรียน

-การสอนเป็นการบอกกล่าวอธิบายแก่ผู้เรียน

-การสอนเป็นการแนะนำเกี่ยวกับความรู้ต่างๆให้กับผู้เรียน

-การสอนเป็นการบอกให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคม

-การสอนเป็นการจัดให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน คือ ทักษะและการสอน คือ ความสามารถในการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ต่างๆให้กับผู้เรียนได้

ความหมายของเทคนิคการสอน

หมายถึง กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอนหรือการกระทำต่างๆในการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

การแบ่งทักษะการสอน

การแบ่งทักษะการสอนมีแนวคิดแตกต่างกันหลายแบบ ดีเวท ดับบลิว แอลเลน (Dewight W.Allen) จำแนกเป็น 18 ทักษะ

1.การสร้างความสัมพันธ์

2.การว่างขอบข่ายเนื้อหา

3.การสรุปผลลัพธ์

4.การมีพฤติกรรมเอาใจใส่ในตัวผู้เรียน

5.การหาผลย้อนกลับหรือข้อมูลย้อนกลับ

6.การเสริมกำลังใจ

7.การพูดทบทวนและย้ำเตือน

8.การควบคุมการมีส่วนร่วมในการเรียนของนักเรียน

9.การอธิบายและการใช้ตัวอย่าง

10.การตั้งคำถาม

11.การใช้คำถามขั้นสูง

12.การใช้คำถามชุด

13.การให้นักเรียนเงียบและการนำเสนอโดยการไม่ใช้คำพูด

14.การกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถามเอง

15.การสื่อความหมายที่สมบูรณ์

16.การแปรเปลี่ยนตัวกระตุ้น

17.การบรรยาย

18.การบอกให้นักเรียนรู้ตัวว่าต้องตอบคำถาม

 

 

 

ความสำคัญของทักษะการสอน

การฝึกทักษะการสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับครูมืออาชีพ ผู้สอนต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ผู้สอนตั้งจุดมุ่งหมายไว้ การฝึกทักษะมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างยิ่ง

1.เป็นการส่งเสริมผู้ที่จะเป็นครูผู้สอนต้องมีทักษะการสอน

2.เป็นการส่งเสริมความชำนาญ คล่องแคล่วหรือเชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการสอน

3.ช่วยให้ผู้ฝึกมีความมั่นใจตนเองมากขึ้น เป็นการส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้สอนด้วย

4.ช่วยไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการสอน

5.ช่วยให้งานสอนบรรลุตามจุดประสงค์โดยไม่เสียเวลา

6.ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาการสอนขึ้นไปอีก

7.ช่วยทำให้เกิดความชุ่มชื่น ชื่นชม ศรัทธาจากผู้เรียน

ทักษะการสอนขั้นพื้นฐาน

ทักษะการสอนขั้นพื้นฐาน หมายถึง ความสามรถ ความชำนาญในการสอน ซึ่งทักษะไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ถ้าไม่มีการฝึกฝน ทักษะการสอนมีหลายทักษะ ผู้ที่เป็นครูควรได้มีการฝึกฝนเพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนต่อไป การที่ครูจะมีความสามารถในการใช้ทักษะให้ได้ผลนั้น ต้องมีการแยกฝึกทักษะแต่ละลักษณะให้ชำนาญเสียก่อน

ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน

การนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นการสอน หรืกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อเริ่มต้นทำการสอน เพื่อดึงดูดความสนใจให้ผู้เรียนพร้อมติดตามบทเรียนต่อไป

จุดมุ่งหมาย

1.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียน

2.เพื่อโยงประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเข้ากับประสบการณ์ใหม่ที่จะสอน

3.เพื่อจัดบรรยากาศการเรียนให้น่าสนใจอยากเรียน ร่วมทำกิจกรรมที่ครูจัดขึ้น

4.เพื่อกำหนดขอบเขตของบทเรียน

5.เพื่อให้ผู้เรียนรู้ความหมาย รู้ความคิดรวบยอด และหลักการของบทเรียนใหม่

การใช้ทักษะการนำเข่าสู่บทเรียน

1.ก่อนเริ่มบทเรียนที่จะสอน

2.ก่อนเริ่มอธิบายและซักถาม

3.ก่อนตั้งคำถาม

4.ก่อนจะให้นักเรียนอธิบาย

5.ก่อนให้นักเรียนดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดีทัศน์

6.ก่อนทำกิจกรรมต่างๆที่ครูจัดขึ้น

เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน

1.ใช้อุปกรณ์การสอน เช่น ของจริง รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ

2.ให้นักเรียนลองทำกิจกรรมบางอย่างที่สัมพันธ์กับบทเรียน

3.ใช้เล่านิทาน หรือเหตุการณ์ๆโยงมาสู่เรื่องที่จะสอน

4.ตั้งปัญหา ทายปัญหา เพื่อเร้าความสนใจ

5.สนทานซักถามเรื่องต่างๆเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน

6.ทบทวนบทเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่

7.แสดงละครหรือบทบาทสมมติ

8.ร้องเพลง เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน

9.สาธิต อาจสาธิตจากครูหรือให้นักเรียนสาธิตเองก็ได้

10.ให้นักเรียนฟังเสียงต่างๆ

ทักษะการใช้กิริยาวาจา ท่าทางในการสอน

การใช้กิริยาวาจา ท่าทางในการสอนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของครู บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะเป็นครู บุคลิกภาพหมายรวมไปถึงการแสดงออกของครูทั้งด้านกิริยาวาจา และใจที่จะช่วยสอนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ความสนใจ และยังมีความจำเป็นแบบฉบับของเยาวชน

เทคนิคการใช้กิริยาวาจา ท่าทางประกอบการสอนและบุคลิกภาพ

1.การเคลื่อนไหวการเปลี่ยนอริยาบถ

2.การใช้มือและแขน

3.การแสดงออกทางสีหน้า

4.การทรงตัวและการวางท่าทาง

5.การใช้น้ำเสียง

6.การแต่งกาย

ทักษะการอธิบาย

การอธิบายเป็นการสื่อความระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนให้มีความเข้าใจถูกต้องตรงกันอาจทำได้ 2 ทาง คือ

1.แบบนิรนัย คือการอธิบายโดยบอกกฎหรือหลักการแล้ว

2.แบบอุปนัย คือ การยกตัวอย่าง รายละเอียดย่อยๆ ที่เข้ากับความรู้และประสบการณ์การของนักเรียน

เทคนิคการอธิบาย

1.เวลาที่ใช้อธิบายไม่นานเกิดควร

2.ภาที่ใช้ง่ายแก่กันเข้าใจ

3.สื่อการสอน ตัวอย่าง ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องได้ง่ายขึ้น

4.ครอบคลุมใจความสำคัญได้ครบถ้วน

5.การอธิบายเริ่มจากเรื่องง่ายไปหาเรื่องยาก

6.ท่าทางในการอธิบายน่าสนใจ

7.ใช้แนวความคิดหรือถ้าเป็นการอธิบายของนักเรียนให้ใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนมา

8.มีการสรุปผลการอธิบายด้วย

ทักษะการเร้าความสนใจ

ประโยชน์ของการเร้าความสนใจ

1.ทำให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนบทเรียนนั้น

2.ทำให้เด็กมีความสนใจในบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ

3.ทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอนเมื่อเด็กสนใจเรียน

เทคนิคการเร้าความสนใจ

1.การใช้สีหน้า ท่าทางประกอบการสอน

2.การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง

3.การเคลื่อนไหวของครู

4.การเน้นจุดสำคัญของเรื่องและการเว้นระยะการพูดหรือการอธิบาย

ทักษะการใช้คำถาม

ประเภทของคำถาม แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ 3 ประเภท

1.คำถามที่ใช้ความคิดพื้นฐาน เป็นคำถามง่ายๆ

1.1.คำถามที่ต้องตอบจากความรู้ที่เรียนมาแล้ว

1.2.คำถามที่ผู้ตอบต้องอาศัยประสาทสัมผัสของตน จากการสังเกตจากประสบการณ์

2.คำถามเพื่อคิดค้น เป็นคำตอบที่ผู้ตอบต้องใช้ขั้นตอนความคิดลึกซึ้งกว่าความคิดพื้นฐาน

3.คำถามที่ขยายความคิด เป็นคำถามที่ไม่กำหนดแนวคำตอบ

เทคนิคการใช้คำถาม

1.ถามด้วยความมั่นใจ

2.ถามอย่างกลมกลืน

3.ถามโดยใช้ภาษาที่พูดเข้าใจง่ายเหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน

4.การให้นักเรียนมีโอกาสตอบหลายคนในการสอน

5.การเลือกถามบางครั้งครูควรเลือกถามผู้เรียนบางคน

6.เสริมกำลังใจหรือให้ผลย้อนกลับ

7.ใช้คำถามหลายๆประเภทในการสอนแต่ละครั้ง

8.การใช้กิริยา ท่าทาง เสียงในการประกอบการถาม

9.การใช้คำถามรุก คือ การใช้คำถามต่อเนื่อง

ทักษะการใช้อุปกรณ์การสอน

อุปกรณ์การสอน ช่วยให้การเรียนรู้มีความหมายมากขึ้น สามารถเพิ่มรูปธรรมและความจริงต่อการเรียนรู้ได้มากขึ้น อุปกรณ์การสอนเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิด มองเห็นความสัมพันธ์ของเรื่องราวหรือสิ่งที่เรียนรู้ได้ถูกต้องแม่นยำ

ประโยชน์ของอุปกรณ์การสอน

1.กระตุ้นผู้เรียนเกิดความสนใจการเรียนยิ่งขึ้น

2.ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

3.ทำให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด และความเข้าใจถูกต้องและรวดเร็ว

4ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง

5.ทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆได้นาน

6.ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์เดิมของผู้เรียน

เทคนิคการใช้อุปกรณ์การสอน

1.ใช้อุปกรณ์การสอนอย่างคล่องแคล่วโดยฝึกก่อนสอน

2.แสดงอุปกรณ์ให้เห็นชัดทั่วห้อง

3.ควรหาที่ตั้ง วาง แขวน อุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่

4.ควรใช้ไม้ยาวและปลายแหลมชี้แผนภูมิ แผนที่ กระดานดำ แทนการใช้นิ้วมือ

5.ควรนำอุปกรณ์มาวางเรียงลำดับก่อนถึงเวลาสอนเพื่อสะดวกในการหยิบใช้

6.มีการเตรียมตัวผู้เรียนล่วงหน้าก่อนการใช้อุปกรณ์

7.ควรเลือกเครื่องมือประกอบการใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม

8.ใช้อุปกรณ์ให้คุ้มค่ากับที่ได้เตรียมมา

9.พยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรม

10.คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์บางชนิด

ทักษะและเทคนิคการใช้กรดานดำ

1.ครูควรทำความสะอาดทุกครั้งที่เข้าสอน

2.ในการเขียนกระดานดำ ไม่ควรเขียนทีเดียวทั้งแผ่น ควรแบ่งครึ่งตามความเหมาะสม

3.ในการเขียนกระดานดำทุกครั้งควรเริ่มเขียนจากซ้ายมือไปขวามือ

4.ถ้ามีหัวเรื่อง ควรเขียนไว้ตรงกลางกระดานดำในส่วนที่แบ่งไว้และเขียนตัวหนังสือให้อ่าง่ายแล้วเป็นระเบียบ

5.ขณะเขียนต้องยืนห่างกระดานดำพอประมาณ แขนเหยียดตรง จับชอล์กทำมุมประมาณ 45 องศา

6.การเขียนตัวหนังสือต้องเป็นเส้นตรงไม่คดเคี้ยว

7.ถ้ามีข้อความสำคัญควรใช้ชอล์กขีดเส้นใต้

8.ถ้าต้องการอธิบายข้อความบนกรดานดำเราไม่ควรยืนบัง

9.ควรใช้ชอล์กสีเน้นข้อความใดโดยเฉพาะ

10.เขียนคำตอบของผู้เรียนบนกระดานดำ

11.การใช้เครื่องมือในการเขียนรูปทรงบนกระดานดำ ผู้สอนควรเตรียมอูปกรณ์ให้พร้อม

12.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้กระดานดำด้วย

13.ถ้าจะขึ้นเรื่องใหม่ควรลบเรื่องเก่าให้หมดเสียก่อน

14.การลบกระดานดำควรลบให้ถูกวิธีเพื่อไม่ให้ชอล์กเข้าหน้าครู

ทักษะการเสริมกำลังใจ

การเสริมกำลังใจ หมายถึง การให้กำลังใจแก่ผู้อื่น เช่น การให้คำชมเชย หรือ แสดงพฤติกรรมที่ปรารถนาดีแก่ผู้เรียน

ประเภทของการเสริมกำลังใจ

1.การเสริมกำลังใจเกิดขึ้นจากความต้องการภายในของผู้เรียน

2.การเสริมกำลังใจภายนอก

2.1.การเสริมกำลังใจโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการชมเชย

2.2.การเสริมกำลังใจด้วยการให้รางวัล และสัญลักษณ์ต่างๆ

2.3.การเสริมกำลังใจโดยให้ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้า

หลักการเสริมกำลังใจ

1.นักเรียนได้รับการเสริมกำลังใจทันทีเมื่อแสดงพฤติกรรมสอดคล้องกับเป้าหมาย

2.ควรเลือกวิธีการเสริมกำลังใจที่เหมาะสมกับนักเรียนและวัย

3.วิธีการเสริมกำลังใจควรสอดคล้องกับพฤตกรรมที่นักเรียนแสดงออก

4.การลงโทษ คือการเสริมกำลังใจโดยการขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึ่งปรารถนา

5.ครูควรระลึกอยู่เสมอว่าการเสริมกำลังใจบางอย่างอาจได้ผลกับนักเรียนได้แค่หนึ่งคน หรือกลุ่มเท่านั้น

เทคนิคการเสริมกำลังใจ

1.เสริมกำลังใจในจังหวะที่เหมาะสม

2.การเสริมกำลังใจย้อนหลัง

3.ไม่พูดเกินความจริง

4.ไม่ใช้คำพูดที่จำกัดในวงแคบใช้วิธีการเสริมกำลังใจหลายๆวิธี

5.ไม่ควรเสริมกำลังใจบางประเภทบ่อยเกินไป

6.ใช้วิธีเสริมกำลังใจต่างๆกันและในโอกาสต่างๆ

7.เสริมกำลังใจโดยการใช้คำพูดที่เหมาะสมกับวัย

8.เสริมกำลังใจในทางบวกมากกว่าในทางลบ

9.การเสริมกำลังใจไม่ควรมาจากครูอย่างเดียว

10.หาวิธีที่เสริมกำลังใจให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน

ทักษะการสรุปบทเรียน

การสรุปบทเรียนเป็นการที่ผู้สอนพยายามให้นักเรียนรวบรวมความคิด ความเข้าใจของตน จากการเรียนรู้ที่ผ่านมา ว่าได้สาระสำคัญ หลักเกณฑ์ ข้อเท็จจริง หลักการ หรือแนวความคิดสำคัญ

รูปแบบการสรุปบทเรียน มักนิยมการทำ 2 รูปแบบ คือ

1.การสรุปด้านเนื้อหาสาระ คือการเชื่อมโยงความรู้ หรือเนื้อหาสาระที่สำคัญเข้าด้วยกัน

2.การสรุปด้านความคิดเห็น คือ การทำให้เห็นแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนว่าได้เรียนรู้และเกิดแนวคิดอะไร

เทคนิคการสรุปบทเรียน

1.สรุปโดยการอธิบายสั้นๆ ชัดเจน ทบทวนสาระสำคัญที่เรียนมา

2.สรุปโดยการใช้อุปกรณ์ หรือรูปภาพประกอบ

3.สรุปโดยการสนทนา ซักถาม

4.สรุปโดยการสร้างสถานการณ์

5.สรุปโดยนิทาน หรือการยกสุภาษิต

6.สรุปโดยการปฏิบัติ

1 comments on “ทักษะและเทคนิคการสอน

  • ใส่ความเห็น